ผลิตเสื้อโปโล ควรเลือกเนื้อผ้าตัวไหน มาดู 4 เนื้อผ้าสุดฮิตกัน

เลือกผ้าเสื้อโปโลกัน ว่าควรเลือกเนื้อผ้าแบบไหนดีที่จะทำให้เวลาใส่แล้วสบาย คุ้มค่าที่สุด เพราะเสื้อโปโลนั้นทั้งดูดี สมาร์ท แถมนิยมใช้เป็นเสื้อองค์กร ดังนั้นก็เป็นเรื่องปกติที่ผู้ที่ต้องการผลิตนำไปใช้ ผลิตเสื้อโปโล ควรเลือกเนื้อผ้าตัวไหน มาดู 4 เนื้อผ้าสุดฮิตกัน

เสื้อโปโลผ้า TK เนื้อผ้าราคาถูก

เป็นผ้าที่ทอมาจากเส้นด้ายใยสังเคราะห์ หรือที่เรียกว่า โพลีเอสเตอร์ เนื้อผ้า TK จะมีส่วนผสมของ Polyester 100% เนื้อผ้าจะมีลักษณะเงามันมากกว่า TC และมีคุณสมบัติทั่วๆไป คือ ผ้าจะไม่ค่อยยับ สีสด และสีไม่ตก แต่เนื้อผ้า TK เป็นผ้าที่ระบายอากาศได้ไม่ค่อยดี จึงทำให้เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้า TK ใส่แล้วจะร้อน ซึ่งทำให้เสื้อผ้าที่ทอด้วยผ้าTK มีราคาไม่สูงนัก เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีมากขึ้น เสื้อที่นิยมใช้ผลิตจึงเลือกสเปคผ้าที่ไม่หนาจนเกินไป และจะเลือกใช้ผ้าทอประเภท ลาคอส หรือ จูติ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูตาข่าย เพื่อช่วยให้ผ้ามีช่องทางในการระบายอากาศได้ดีขึ้น สำหรับการสั่งผลิตเสื้อโปโลด้วยเนื้อผ้า TK ที่เหมาะสมก็คือคนที่มองหาเนื้อผ้าที่ไม่แพง ประหยัดงบประมาณ หรือ ต้องการใช้สีเสื้อที่มีความสด สีสว่าง

เสื้อโปโลผ้าจูติ TC เนื้อผสม

เนื้อผ้าประเภท TC เป็นเนื้อผ้าที่ความนิยมมากที่สุดชนิดนึง เพราะเป็นเนื้อผ้าที่ราคาไม่สูงนัก และมีส่วนผสมของผ้าฝ้ายธรรมชาติอยู่ด้วย เป็นผ้าที่มีส่วนผสมระหว่างเส้นใยธรรมชาติ (Cotton) 35% กับเส้นใยสังเคราะห์ (Polyester) 65% ซึ่งจะแบ่งอัตราส่วนของผ้าโพลีเอสเตอร์มากกว่าเพื่อให้มีราคาไม่สูงมากนัก เนื้อผ้าชนิดนี้มีคุณสมบัติคือ เนื้อผ้าไม่ยืด ไม่ย้วย ไม่ยับง่าย ใส่สบาย มีสีคงทน นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีสีผ้าชนิดนี้ให้เลือกค่อนข้างมากอีกด้วย

เสื้อโปโลผ้า CVC ผ้าใส่สบาย

จะเป็นผ้าเนื้อผสมอีกเช่นกัน แต่จะมีความแตกต่างไปจาก เนื้อผ้า TC ตรงสัดส่วนที่ใช้ผสมของเนื้อผ้า ระหว่างเส้นใยธรรมชาติ หรือผ้าฝ้าย (Cotton) จะมีมากกว่าเส้นใยสังเคราะห์ (Polyester) ซึ่งทำให้ผ้าชนิดนี้มีราคาที่สูงกว่าผ้าTC เนื้อผ้าชนิดนี้จะมีคุณสมบัติของผ้าฝ้ายมากขึ้น ซึ่งทำให้เวลาสวมใส่แล้วจะรู้สึกถึงความสบายผิวมากกว่า ไม่ระคายผิวหนัง เนื้อจากนี้จังระบายอากาศได้ดีกว่าเนื้อผ้าTC และ TK แต่ด้วยความที่ส่วนผสมของผ้าฝ้ายมีมากขขึ้นก็ทำให้ราคาของผ้าก็จะสูงขึ้นตามมา

เสื้อโปโลผ้า DRY TECH เนื้อผ้าระบายอากาศ

เป็นเนื้อผ้าที่มีส่วนผสมของเส้นด้ายเหมือนผ้าCVC คือสัดส่วนที่ใช้ผสมของเนื้อผ้า ระหว่างเส้นใยธรรมชาติ หรือผ้าฝ้าย (Cotton) จะมีมากกว่าเส้นใยสังเคราะห์ (Polyester) แต่มีการเพิ่มนวัตกรรมการทอผ้าเข้ามาช่วย ให้ผ้ามี 2 หน้าที่ไม่เหมือนกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติพิเศษบางอย่าง ทำให้เนื้อผ้าชนิดนี้สามารถระบายอากาศได้ดี ใส่แล้วรู้สึกเบาสบาย เนื้อผ้าไม่ติดตัว ไม่รู้สึกเหนียวเหนอะหนะเวลาสวมใส่ ไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับแม้จะมีเหงื่อก็ตาม และยังช่วยยับยั้งแบคทีเรียได้อีกด้วย นอกจากนี้ผ้าก็ยัง ยับยากอีกด้วย ค่อนข้างตอบโจทย์สำหรับ คนที่ขี้เกียจรีดเสื้อเป็นอย่างมาก ข้อด้อยของผ้าชนิดนี้คือผ้าชนิดนี้จะค่อนข้างบาง ไม่สามารถทอให้หนาเหมือนผ้า TC และ CVCได้ แต่ถือเป็นเนื้อผ้าที่เป็นที่นิยมมากในสมัยนี้ เพราะเหมาะกับอากาศร้อนเมืองไทย
แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกเนื้อผ้าจะขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลด้วยว่าชอบเสื้อโปโลแบบไหน ลักษณะการใช้งานเป็นยังไง ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับความตั้งใจที่คิดไว้ เนื้อผ้าดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลือกที่เป็นที่นิยมกันในสมัยนี้ นอกจากการดูแลรักษาเสื้อก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อได้เสื้อโปโล ไม่ควรตากด้วยไม้แขวนเวลายังเปียกมาก เพราะอาจะทำให้เสื้อเสียทรง และเมื่อแห้งควรพับเก็บไม่ควรแขวนไว้ เพียงเท่านี้เราก็จะได้เสื้อที่จะอยู่กับเราไปนาน และตรงกับการใช้งานอีกด้วย

บริษัท ทอฟฟี่ บูติค จำกัด

          เรามีประสบการณ์กว่า 30 ปี ในการรับผลิตเสื้อ ยูนิฟอร์มพนักงาน เสื้อฟอร์มพนักงาน หรือชุดฟอร์มพนักงานโรงงาน เสื้อโปโลพนักงาน เสื้อโปโลยูนิฟอร์ม และอื่นๆ เรามีทีมช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและตัดเย็บคอยให้คำปรึกษา และเรายังเป็น One Stop Service มาที่นี่ที่เดียวจบ ครบทั้งเรื่องผ้าและเรื่องรูปแบบในการตัดเย็บ ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจได้ว่า หากเลือกมาผลิตเสื้อโปโล หรือชุดยูนิฟอร์มพนักงานกับทางเราจะได้สินค้าที่ดีและมีคุณภาพกลับไปอย่างแน่นอน

ยินดีให้คำปรึกษางานด้านผลิตยูนิฟอร์มพนักงาน

รับผลิตเสื้อช็อป เสื้อโปโลพนักงาน ชุดฟอร์มพนักงานโรงงาน
เราเป็นโรงงานผลิตเสื้อโปโลคุณภาพ รับทําเสื้อโปโล และรับผลิตเสื้อทุกรูปแบบ
สามารถเลือกเนื้อผ้าได้ตามต้องการ
ติดต่อรับบริการและติดตามข่าวสาร พร้อมโปรโมชั่นพิเศษได้ที่
โทร. 02-874-0205-7
มือถือ : 084-099-3799, 095-639-6142
Line : @toffyboutique
Facebook : https://www.facebook.com/toffyboutique/
Email : sales@toffyboutique.com
Comments are closed.