
1. Outline fonts
โดยส่วนมากเราจะพบการใช้ฟอนต์แบบ Outline กันในแวดวงแฟชั่น และนิตยสาร ซึ่งการใช้เทคนิคนี้จะทำให้เราสามารถเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ในพื้นที่ด้านในและระหว่างตัวอักษรได้อีกด้วย

2. Vintage fonts
ประโยค Classic never dies นี่ยังใช้ได้ดีอยู่ เพราะการใช้ฟอนต์แนววินเทจย้อนยุคก็ยังได้รับความนิยม นอกจากจะถือว่าเป็นตัวแทนของความจริงจังและสง่างามแล้ว ตัวอักษรแนวนี้มักจะทำให้เราได้นึกย้อนไปถึงกลิ่นอายความทรงจำในอดีตอยู่เสมอ เรามักจะได้เจอฟอนต์แนววินเทจในโปสเตอร์หนัง ใบปิดเทศกาลดนตรี หรืออีเวนต์ที่มีธีมย้อนยุคหน่อยๆ

3. Hand Lettered Fonts
เทคนิคที่แรงดีไม่เคยมีตกเพราะพกแต่ความยูนีค หรือความเฉพาะตัวมาแบบเด่นชัดสุดๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นการใช้ฟอนต์ที่เขียนขึ้นมาด้วยลายมือนี่แหละ นอกจากจะดูจริงใจแล้ว ยังช่วยเพิ่มสเน่ห์ และเสริมความขี้เล่นให้ชิ้นงานได้ด้วย

4. Extra Bold fonts
การออกแบบฟอนต์แบบ bold ยังเป็นที่นิยมอยู่ ด้วยลักษณะฟอนต์ที่ให้ความรู้สึกชัดเจน แข็งแรงอาจจะช่วยดึงสายตาของเราได้ดีกว่าฟอนต์แบบอื่น ทั้งรูปภาพ สีสัน หรือแม้กระทั่ง ชื่อบทความ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิธีง่ายๆ ที่ได้ผลดีเสมอในการเตะสายตาผู้ชม คือการใช้ฟอนต์หนาๆ ตัวใหญ่ๆ ในการสื่อสาร

5. Minimal Sans Serifs
เทคนิคการใช้ฟอนต์แบบ Sans Serifs เรียบๆ เกลี้ยงๆ ช่วยให้ชิ้นงานดูสะอาดและโมเดิร์นขึ้น และถึงแม้จะเป็นตัวบางๆ แต่หากจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสมก็ยังคงส่งพลังให้กับคนดูได้เป็นอย่างดี

ใส่ความเห็น